คำว่า “ รัก ” ในมุมมองของกฎหมาย


คำว่า “ รัก ” เป็นคำที่ทรงพลังล้นเหลือในชีวิตของคนทุกคน แล้วในแวดล้อมแห่งกฎหมายล่ะ? คำว่า รัก ได้ปรากฏหรือสอดแทรกอย่างไรในวงการกฎหมายบ้าง มีที่ใดที่ ความรัก กฎหมาย สองคำนี้ปรากฏพร้อมกันบ้าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 6083/2546 “
…ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงจิตใจอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เพราะจำเลยกับผู้ตายมีความสัมพันธ์กันฉันคนรัก แต่ผู้ตายต้องการเลิกความสัมพันธ์กับจำเลยไปมีรักกับผู้ชายคนใหม่ จำเลยจึงบันดาลโทสะฆ่าผู้ตายนั้น เห็นว่า ” ความรักเป็นสิ่งที่เกิดจากใจไม่อาจบังคับกันได้ ความรักที่แท้จริงคือความปรารถนาดีต่อคนที่ตนรัก ความยินดีที่คนที่ตนรักมีความสุข การให้อภัยเมื่อคนที่ตนรักทำผิด และการเสียสละความสุขของตนเพื่อความสุขของคนที่ตนรัก ” จำเลยปรารถนาจะยึดครองผู้ตายเพื่อความสุขของจำเลยเอง เมื่อไม่สมหวังจำเลยก็ฆ่าผู้ตาย เป็นความผิดและการกระทำที่เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ของจำเลยโดยฝ่ายเดียวมิได้คำนึงถึงจิตใจและความรู้สึกของผู้ตาย หาใช่ความรักไม่ ทั้งเป็นความเห็นผิดที่เป็นอันตรายต่อสังคมอย่างยิ่ง…
การอธิบายนิยามของคำว่า รัก ที่ศาลให้ความเห็นในฎีกานี้นั้น ค่อนข้างมีความลึกซึ้งกินใจ การที่จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยบันดาลโทสะเพราะเห็นว่าผู้ตายกำลังจะไปมีรักกับคนใหม่จึงได้ฆ่าเสีย เป็นเพียงการเห็นแก่ตัวของจำเลยที่จะครอบครองคนรักเอาไว้ มิใช่ความรักที่แท้ที่เป็นความเสียสละ ปรารถนา ยินดี และพร้อมจะให้อภัยกับคนรักแต่อย่างใด
” happy valentine’s day ”

Add a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

โทรด่วน